ระบบ AI Quality Control ตัวช่วยเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้า

 หลายคนคงคิดว่าการนำระบบ AI Quality Control เข้ามาใช้งานจะเป็นแค่การติดตั้งกล้องเพื่อตรวจจับข้อบกพร่องในการผลิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว ยังจะเป็นการใช้กล้องเพื่อตรวจจับภาพสินค้าในสายการผลิต

   แล้วส่งภาพเหล่านั้นไปยังฐานจัดเก็บข้อมูลที่มีระบบ AI ตรวจสอบคุณภาพสินค้าผ่านอัลกอริทึมที่มีการกำหนดเอาไว้ ระบบจะประมวลผลข้อมูลรูปภาพ และแสดงให้ทราบทันทีว่าสินค้าแต่ละชิ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพหรือไม่ และถ้าหากไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ก็จะทำการตรวจสอบว่าสาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคืออะไร หลังจากนั้นพนักงานจะทำการคัดแยกสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านั้นออกมา เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในภายหลัง
   ทำไม AI ถึงควรนำเข้ามาใช้งานในสายการผลิต อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ระบบ AI Quality Control จะช่วยให้คุณสามารถตรวจจับสินค้าที่บกพร่องได้อย่างรวดเร็ว และหาวิธีในการลดความผิดพลาดนั้นไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณสามารถทำความเข้าใจถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการนำระบบ AI Quality Control เข้ามาใช้งาน ข้อควรรู้ต่อไปนี้จะทำให้คุณเห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ระบบ AI Quality Control จะเข้ามาช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัลกอริทึมในระบบ AI จะเข้ามาตรวจจับและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อสามารถทำการตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างราบรื่นและแม่นยำ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตให้มีข้อผิดพลาดที่น้อยลง ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในสายการผลิต เมื่อนำระบบ AI Quality Control เข้ามาใช้งานแล้ว จะสามารถช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสายการผลิต หรือทางฝั่งของการคัดแยกสินค้าก็ตาม เพราะเมื่อแทนที่ด้วยระบบ AI แล้ว ก็จะทำให้การตรวจสอบสินค้าหลายรายการพร้อมกันได้ในคราวเดียว ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนต่าง ๆ ไปได้มาก และทำให้สายการผลิตสามารถทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในสายการผลิตลงได้ในระยะยาว เมื่อนำระบบ AI Quality Control เข้ามาใช้งาน อัลกอริทึมและ Machine Learning จะทำการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานในแต่ละครั้ง เพื่อวิเคราะห์และหาวิธีการปรับการผลิตให้ลดข้อบกพร่องในการทำงานให้น้อยลง ลดข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมา และเมื่อมีสินค้าที่ผิดพลาดน้อยลงแล้ว ก็เท่ากับว่าค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ต้องเสียไปก็จะน้อยลงด้วยนั่นเอง

ที่มา : https://as.nida.ac.th/